การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะหลัง

 

การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะหลัง ( Lumbar puncture)

 

เป็นการแทงเข็มเจาะหลังผ่านช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังช่วงเอว บริเวณตำแหน่ง L3 กับ L4 ผ่านเข้าสู่ชั้น Subarachnoid space และดูดเอาน้ำไขสันหลัง (CSF) ออกมาเพื่อตรวจวินิจฉัย หรือให้การรักษา

วัตถุประสงค์

1. วินิจฉัยโรค เช่น ภาวะติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง

2. เก็บ CSF ส่งตรวจ

3. วัดระดับความดันของน้ำไขสันหลัง

4. ฉีดสารทึบแสงเข้าไปเพื่อถ่ายภาพทางรังสี

5. ให้การรักษา เช่น การฉีดยา การดูดน้ำไขสันหลังออกเพื่อลดความดันกะโหลกศีรษะ

ข้อห้ามในการตรวจ

1.       มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงร่วมกับมีการกดทับของเนื้อสมอง

2.       มีก้อนในสมองร่วมกับมีความดันกะโหลกศีรษะสูง

3.       มีการติดเชื้อของผิวหนังบริเวณที่จะเจาะ

4.       สงสัยมีการติดเชื้อหรือมีก้อนบริเวณที่จะเจาะ

5.       การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ INR>1.4 หรือ Plt< 50,000 cell/mm3

ภาวะแทรกซ้อน

1.       ปวดศีรษะหลังการเจาะน้ำไขสันหลังเนื่องจากน้ำไขสันหลังรั่วหรือมีการระบายน้ำไขสันหลัง

ออกมากเกินไปหรือมีรอยรั่วของ dura จนเกิดการดึงรั้งของสมอง มักมีอาการปวดด้านหน้าหรือท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจียน มักเกิดหลังเจาะ 6-72 ชั่วโมง

2.       ปวดบริเวณที่เจาะ

3.       เกิดบาดเจ็บต่อรากประสาท อาจเกิดอาการชาหรือเสียวขา เนื่องจากเข็มเจาะถูกเส้นประสาท

4.       อาจเกิดการติดเชื้อใน subarachnoid space

5.       อาจเกิด brain herniation

6.       อาจเกิด hematoma ซึ่งควรให้ผู้ป่วยนอนราบทับแผลจะ และควรงดการเจาะในผู้ที่มี

ปัญหาการแข็งตัวของเลือด

อุปกรณ์

1.       Set เจาะหลัง

2.       เข็มเจาะเบอร์ 16,18,20 หรือ 22

3.       Manometer

4.       3-way

5.       ผ้าเจาะกลาง

6.       ขวดเก็บน้ำไขสันหลัง 3-4 ขวด

7.       70% alcohol, Betadine

8.       Glove sterile

9.       1% Xylocain without adrenaline

10.   พลาสเตอร์ปิดแผล

11.   Syring, เข็ม no.18,24

การพยาบาลก่อนเจาะ

1.       ตรวจสอบชื่อสกุล หมายเลขประจำตัว ของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาถูกคน

2.       แจ้งวัตถุประสงค์ของการเจาะหลังและขั้นตอนในการเจาะคร่าว ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความ

ร่วมมือในการเจาะ

3.       เซ็นใบยินยอมการทำหัตถการ

4.       ดูแลให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการรบกวนระหว่างเจาะ และหลังเจาะ

ผู้ป่วยต้องนอนนานบางคนอาจไม่สะดวกในการนอนถ่ายปัสสาวะ

5.       จัดท่านอนตะแคงหลังชิดริมเตียง งอเข่า 2 ข้าง ก้มศีรษะจนคางชิดอกเพื่อเปิดช่องที่จะ

เจาะให้กว้างขึ้นสะดวกในการเจาะ

6.       ห่มผ้าเปิดเฉพาะส่วนที่จะเจาะเพื่อป้องกันการเปิดเผยผู้ป่วยมากเกินไป

7.       ช่วยแพทย์เตรียมอุปกรณ์และยาชา

การพยาบาลระหว่างเจาะ

1.       ดูแลให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนิ่ง ๆ ห้ามไอเพราะจะทำให้การเจาะผิดพลาดและแรงดันในน้ำ

ไขสันหลังเพิ่มขึ้น ทำให้การอ่านค่าผิดได้

2.       ช่วยในการเก็บสิ่งส่งตรวจ

3.       หลังเจาะปิดแผลให้แน่นป้องกันเลือดออกและน้ำไขสันหลังรั่ว

การพยาบาลหลังเจาะ

1.       จัดท่านอนหงายราบ ห้ามยกศีรษะสูงหรือห้ามนั่ง 6-8 hrs. ป้องกันอาการปวดศีรษะจากน้ำ

ไขสันหลังรั่ว

2.       วัดสัญญาณชีพและสังเกตอาการผิดปกติ

3.       แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)

4.       เจาะ FBS เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ ระดับน้ำตาลใน CSF

5.       เก็บอุปกรณ์และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

6.       บันทึกทางการพยาบาลเพื่อเป็นหลักฐานทางการพยาบาลและใช้ในการวางแผนการพยาบาลต่อไป

การส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1.       ควรส่งตรวจทันทีหลังเจาะเสร็จ

2.       หากต้องเก็บไว้ภายหลัง ควรเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 C

3.       การเก็บน้ำไขสันหลังควรใส่ขวดละ 2-3 ml ปิดฝาและติดชื่อ HN ผู้ป่วยให้ชัดเจน

1.       ขวดที่ 1 ส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

2.       ขวดที่ 2 ส่งตรวจทางคลินิก เช่น โปรตีน น้ำตาล

3.       ขวดที่ 3 ตรวจนับเซลล์ แยกเซลล์ ย้อมสี หาเชื้อแบคทีเรีย TB,  india ink

4.       ขวดที่ 4 ตรวจทางserology


บรรณานุกรม

ประวีณ โล่ห์เลขา. (ม.ป.ป.). หัตถการพื้นฐานสำหรับนักศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563 จาก,http://online.fliphtml5.com/avjfz/oael/#p=2.

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์. (2556). คู่มือปฏิบัติการพยาบาล เล่ม 3. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.


เวปไซต์มหาวิทยาลัย : https://www.npru.ac.th/ 

 เวปไซต์คณะพยาบาลศาสตร์ : https://nurse.npru.ac.th/

ความคิดเห็น